วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ทรานซิสเตอร์


ทรานซิสเตอร์



โครงสร้างของทรานซิสเตอร์
โครงสร้างของทรานซิสเตอร์นี้ประกอบไปด้วย สารกึ่งตัวนำ 2 ชนิดนะครับ จะประกบกัน 3 ชั้นวางสลับกันระหว่าง สาร P (P-type) และ สาร N (N-type) และจากนั้นต่อขาออกมาใช้งานลักษณะการ ซ้อนกันนี้ จะถูกนำมาแบ่งเป็นชนิด ของทรานซิสเตอร์ อีกครั้งนะครับ

ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN โครงสร้างของมันก็คือ สาร P ประกอบด้วยสาร N ทั้งสองข้าง ดังรูปที่ 1( ก) จากนั้นต่อขา จากสารกึ่งตัวนำทั้งสามชั้นออกใช้งานนะครับ ส่วนขาที่ต่อจากชั้นสารที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า ขาเบส ( B,Base) ส่วนขาริมทั้งสอง คือขาคอลเล็กเตอร์ ( C,Collector) และขาอีมิตเตอร์ ( E,Emitter)

ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP โครงสร้าง ประกอบด้วย สาร N ประกบด้วยสาร P ขาที่ต่อออกจากชั้นสารที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า ขาเบส ( B) สองขาที่เหลือคือ ขาคอลเล็กเตอร์ ( C) และขาอีมิตเตอร์ ( E)

ความแตกต่างของทรานซิสเตอร์ 2 ชนิด

เอาละครับตอนนี้เรารู้แล้วว่า ทรานซิสเตอร์มีสองชนิดเป็นการแบ่งทางโครงสร้างของมัน ทีนี้เราก็จะมาดูกันว่า ทรานซิสเตอร์ ทั้งสองชนิดนี้มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ด้วยโครงสร้างที่แตกต่างกันนี้ พอจะเปรียบเทียบได้กับ ไดโอดสองตัวต่อกัน ซึ่งทำให้เราเข้าใจโครงการสร้างของมันดีขึ้น ในรูปที่ 2 นี้ได้แสดงทิศทางของกระแสที่ไหลเข้าออก จากตัวทรานซิสเตอร์ สังเกตได้นะครับว่า กระแสไหลจากทิศทางของหัวลูกศรของทรานซิสเตอร์ (กระแสในที่นี้หมายถึง กระแสนิยมที่ไหลจากขั้วบวกไปขั้วลบ) ทรานซิสเตอร์ทั้งสองชนิดมีทิศทางการไหลของ กระแสกลับกัน จากรูปกล่าวได้ว่า กระแสที่ไหลผ่านขา E จะมีค่าเท่ากับกระแสที่ขา C รวมกับที่ขา B เป็นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ แต่กระแสที่ขา C เท่ากับกระแสที่ขา B คูณด้วยอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ ( hFE) ดังสมการในรูปที่ 2 เพราะฉะนั้นกระแสที่ไหลผ่าน ทรานซิสเตอร์ จึงถูกควบคุมโดยกระแสที่ไหลผ่านขา B นั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น: