วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ตัวต้านทาน และ การทำงานของตัวต้านทาน

ตัวต้านทาน และ การทำงานของตัวต้านทาน




ตัวต้านทาน หรือ รีซิสเตอร์ (resistor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้นคร่อมขั้วทั้งสอง โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามกระแสที่ไหลผ่าน อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทาน
หน่วยค่าความต้านทานไฟฟ้าตามระบบเอสไอ คือ โอห์ม อุปกรณ์ที่มีความต้านทาน ค่า 1 โอห์ม หากมีความต่างศักย์ 1 โวลต์ไหลผ่าน จะให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ซึ่งเท่ากับการไหลของประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ ต่อวินาที




ชนิดของตัวต้านทาน


1.ตัวต้านทานแบบมีค่าคงที่ - เป็นตัวต้านทานที่เห็นได้ง่ายและนิยมใช้ในวงจร


2.ตัวต้านทานปรับค่าได้ - ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีหน้าคอนแทคสำหรับใช้การหมุนเลื่อนหน้าคอนแทคในการปรับค่าตัวต้านทาน เพื่อเป็นการสะดวกต่อการปรับค่าความต้านทาน จึงมักมีแกนยื่นออกมาหรือมีส่วนที่จะทำให้หมุน



สัญลักษณ์ของตัวต้านทานที่ใช้


ตัวต้านทานแบบแถบสี






ไม่มีความคิดเห็น: